บิ๊กไบค์…จำเป็นต้องมีประกันภัยหรือไม่

บิ๊กไบค์

การขับขี่มอเตอร์ไซค์ยังติดอันดับชนิดยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดในประเทศไทย ถ้าไม่มองที่เมาแล้วขับทำให้เป็นแบบนั้นได้ การขับขี่ที่ไม่ถูกกับสภาพแวดล้อมก็เสี่ยงเกิดเรื่องไม่คาดคิดได้เสมอ ถ้าพูดถึงการขับบิ๊กไบค์ยังคงเป็นที่นิยมในความเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่ง นอกจากรถมอเตอร์ไซค์มีขนาดใหญ่ สมรรถนะสูง ไปไหนไปกันเป็นคาราวาน ให้ความเป็นตะวันตก และรู้สึกถึงความท้าทายไปในตัวแล้ว

แต่ในขณะเดียวกัน ก็เป็นประเภทรถที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายเช่นกัน จะเห็นได้ตามหน้าหนังสือพิมพ์ สื่อต่างๆ ในโซเชียล จะมีเคสบาดเจ็บจากการขับขี่บิ๊กไบค์บ้าง และมีเสียชีวิตจากการขับขี่บิ๊กไบค์ด้วยเช่นกัน หรืออาจจะรู้สึกวิตกกังวลอยู่บ้าง หากการขับขี่แล้วต้องรู้สึกใจหายตามกัน ซึ่งการทำประกันภัยสำหรับมอเตอร์ไซค์ขนาดใหญ่ มีขนาดลูกสูบสูงถึง 250 cc ขึ้นไปนั้น จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามเลยทีเดียว

รถมอเตอร์ไซค์กลุ่มบิ๊กไบค์ มีหลายคันมากที่ผลิตในประเทศตนเอง นำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ ในยุโรป ซึ่งมีความต่างกันในราคาอะไหล่ ซึ่งจะราคาสูงกว่าอะไหล่ทั่วไปอย่างมาก การทำประกันภัยสำหรับกลุ่มมอเตอร์ไซค์ขนาดใหญ่อย่างบิ๊กไบค์ จะมีอยู่ 3 ประเภทของการทำประกันนั้น โดยแบ่งได้ดังนี้

ประกันภัยชั้น 1 เป็นประกันภัยบิ๊กไบค์ที่คุ้มครองทุกการชน (ชนแบบมีคู่กรณีและไม่มีคู่กรณี) การไถล รถหาย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติ

ซึ่งคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลตัวเองและบุคคลภายนอก ค่าเสียหายของทรัพย์สิน และมีการเพิ่มการคุ้มครองแนบชัดเจน เช่น ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ประกันตัวผู้ขับขี่ ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล ซึ่งเหมาะมากในกรณีที่มีบิ๊กไบค์ลูกสูบ 500 cc ขึ้นไป และเป็นรถมอเตอร์ไซค์ของยุโรป จะครอบคลุมในเรื่องค่าอะไหล่มากกว่า

ประกันภัยชั้น 3+ จะคล้ายๆ ประกันแบบแรก แต่มีข้อจำกัดการคุ้มครอง เป็นสิ่งที่แตกต่างกันคือ ไม่คุ้มครองในกรณีลื่นล้มเอง รถหาย และการชนเนื่องจากไม่มีคู่กรณี หรือหาคู่กรณีได้ แต่ยังคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล คุ้มครองทรัพย์สินที่เสียหายของบุคคลภายนอกอยู่ในตัว

ประกันภัยชั้น 3 จะคุ้มครองในกรณีชนเท่านั้น แต่มีการเพิ่มการคุ้มครองแนบชัดเจน เช่น ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ประกันตัวผู้ขับขี่ ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล ซึ่งจะไม่ค่อยอุ่นใจสักเท่าไหร่

ทำประกันสำหรับบิ๊กไบค์จะคุ้มครองทั้งกรณีทำเพื่อการทรงชีพ และการมรณะไปในตัว เรียกได้ว่าเป็นแฟชั่นบนความเสี่ยงต่อวินาศภัยมากพอสมควร เพราะ cc และความแรงต่างจากมอเตอร์ไซค์ทั่วไปอย่างมาก หากจะเลือกประกันอุบัติเหตุของบิ๊กไบค์ จะเห็นได้ว่าในกลุ่มรถยุโรป เกิดอุบัติเหตุสูงมาก และน่ากลัวมากเช่นกัน (แต่ใช่ว่ารถของญี่ปุ่นจะไม่เกิด) การทำประกันแนะนำว่าให้ทำแบบชั้น 1 ไปเลยดีกว่า เพราะจะเซฟอย่างมาก โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการเคลมกับประกัน และจะครอบคลุมกับชีวิตมากเช่นกัน อย่างน้อยมีไว้ก็อุ่นใจ ดีกว่ามีประกันแต่ครอบคลุมไม่ทั่วถึงเลย

#มอเตอร์ไซค์ #ประกัน #คุ้มครอง #รวมเรื่องรถน่ารู้ #automotive-story.com

พรบ.รถยนต์…ไม่ได้มีค่าแค่ระบุศักราช

พรบ

หากใครเคยเห็นตามหน้ารถยนต์ หรือตามรถมอเตอร์ไซค์ จะเห็นแผ่นสี่เหลี่ยมติดและระบุพุทธศักราช ก็งงว่าติดไว้ทำไมกัน ติดไว้เพื่ออะไรและต้องเปลี่ยนทุกๆ ปีที่ไปต่ออายุ แต่ถ้าดูดีๆ มันมีนัยยะซ่อนอยู่ ที่ไม่ใช่แค่บังคับทำและต่อ พรบ.รถยนต์ รวมถึงรถมอเตอร์ไซค์ที่ต้องมีติดอยู่ข้างรถของตนเองเพิ่มขึ้นด้วย ยังมีผลโดยตรงในทางข้อกฎหมายมากพอสมควร หากไม่ต่อหรือขาดการต่อ พรบ.รถยนต์ขึ้นมา เราจะเสียค่าปรับเพราะความลืม ความสะเพร่าของตนเองโดยไม่รู้ตัว นอกจากนี้เราอาจจะพลาดประสบการณ์ที่ดีอย่างมากในการได้สิทธิ์ของ พรบ.รถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์อีกด้วย

เรื่องของ พรบ.รถยนต์ หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองรถยนต์ รวมถึงรถมอเตอร์ไซค์ และยานพาหนะที่ใช้บนท้องถนนทุกชนิด จะต้องมีทุกคน และบังคับว่าต้องทำที่กรมการขนส่งทางบก ถ้ามองดีๆ มันครอบคลุมการคุ้มครองอย่างมาก เหมือนมีประกันไปในตัว หากใครได้ศึกษาเคสอุบัติเหตุอย่างละเอียดถี่ถ้วน จะรู้เลยว่า พรบ.รถยนต์คุ้มครองได้มากกว่าที่คิด เพราะจะคุ้มครองทั้งรถยนต์หรือพาหนะที่ขับขี่ และคุ้มครองตัวผู้ขับขี่เองอีกด้วยไม่ว่าจะเป็นคนถูกชน ขับชนคนอื่น หรืออุบัติเหตุจากเหตุการณ์ที่นอกเหนือการควบคุม เหมือนกับการทำประกันเพื่อซื้อชีวิตของตนเองไปในตัว ไม่ว่าจะเป็นการทรงชีพหรือการมรณะ (กรณีที่เสียชีวิตทุกรูปแบบที่เกี่ยวกับการขับขี่) และเพื่อให้ตนไม่ประมาทในการใช้ชีวิต เพราะชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง และประสบกับเรื่องไม่คาดคิดอยู่ตลอดเวลา การทำ พรบ.รถยนต์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำอย่างมาก หากใครไม่ต่อหรือไม่ทำเลย จะเสียค่าปรับ 10,000 บาท หรือหากใครกลัวลืม ควรต่อ พรบ.รถยนต์ล่วงหน้า 3 เดือนก่อนหมดอายุในปีคุ้มครองนั้นๆ นอกจากนี้ พรบ.รถยนต์เพิ่มความคุ้มครองมากขึ้นแล้วนะ จะเพิ่มวงเงินคุ้มครองการเสียชีวิต ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง สูญเสียอวัยวะ 1 ข้าง หรือ 2 ข้างในสองกรณีขึ้นไป ซึ่งเพิ่มจาก 300,000 บาทเป็น 500,000 บาท ส่วนอื่นๆ ยังอ้างอิงแบบตามความคุ้มครองแบบเดิม

ในกรณีเคลมประกันในส่วนของ พรบ.รถยนต์ ปัจจุบันทำง่ายกว่าที่คิดมาก หากใครคิดจะเคลม ให้แจ้งความที่โรงพักเพื่อขอลงบันทึกประจำวัน หากใครเจ็บตัวเพราะอุบัติเหตุด้วย ให้เก็บเอกสารการรักษาพยาบาลแนบมาด้วย เช่น ใบแจ้งค่ารักษาพยาบาล ใบรับรองแพทย์เพื่อระบุความเจ็บป่วยที่ตนเองเป็น แล้วนำเอกสารส่งบริษัทที่ทำประกันของ พรบ.ที่ขนส่งนั้นๆ พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนของผู้บาดเจ็บ (หากคนที่บาดเจ็บเป็นคนขับขี่ยานพาหนะ) เพียงเท่านี้เรายังอุ่นใจมากขึ้น ได้รับความคุ้มครองครบครัน และการทำ พรบ.รถยนต์จึงไม่ใช่เรื่องจิ๊บจ๊อยอีกต่อไป 

#รถยนต์ #ประกัน #พรบ. #พระราชบัญญัติ #คุ้มครอง #รวมเรื่องรถน่ารู้ #automotive-story.com