เปลี่ยนสีรถเป็นอีกสีหนึ่ง…จะมีปัญหาไหม

เปลี่ยนสีรถเป็นอีกสีหนึ่ง...จะมีปัญหาไหม

                การเลือกซื้อรถในปัจจุบันแน่นอนว่าเราได้รุ่นรถที่ถูกใจ แต่ก็ถูกใจไม่สุด ไม่ว่าจะเป็นสีรถที่ตนอยากได้สีนั้นแต่ไม่มีในรุ่นรถยนต์ที่ชอบเสียนี่ หรือมีความชอบที่จะทำรถแบบนี้ของตนเอง เลยไปร้านพ่นสีเป็นสีนั้นๆ เสียเลย ซึ่งความชอบของแต่ละคนอาจจะเป็นสีพื้นๆ โทนเดียว สองสี หรือสีที่หลากหลายเหมือนแฟนซี แต่ก็มีข้อถกเถียงเหมือนกันว่าจะมีปัญหาในเรื่องทะเบียนในภายหลังหรือไม่ แล้วถ้ามันเป็นเช่นนั้นจริงๆ เราจะทำยังไงถ้าหากรถยนต์ไปเปลี่ยนสีเป็นสีที่ชอบหลังจากซื้อมา จะเกิดอะไรขึ้น แล้วจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ยังไงกัน

                การเปลี่ยนสีรถยนต์อยู่ที่ความชอบส่วนตัวมากกว่า แต่ต้องดูว่ามีความเหมาะสมต่อความจำเป็นหรือไม่ ซึ่งเรื่องเปลี่ยนสีไม่ได้ร้ายแรงต่อการขับขี่แต่อย่างใด แต่การเปลี่ยนสีรถจะเป็นหนึ่งในการทำให้สภาพรถยนต์เปลี่ยนไปจากเดิม ถ้าหากคุณเป็นเจ้าของรถ ซึ่งได้ดำเนินการพ่นสีรถยนต์เป็นอีกสีหนึ่งเรียบร้อย จะต้องมีหน้าที่ไปทำเรื่องที่กรมการขนส่งทางบกใกล้บ้าน เพื่อแจ้งต่อนายทะเบียน (ซึ่งสามารถไปแจ้งได้ไม่ว่าจะอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล หรือส่วนต่างจังหวัดที่ตนอยู่) โดยต้องแจ้งดำเนินการภายใน 7 วัน นับแต่วันที่เริ่มดำเนินการเปลี่ยนสีรถยนต์ของตัวเองในช่วงเวลานั้น หากไม่ดำเนินการ ล่าช้า หรือเดินเรื่องเกินกำหนดที่สมควรแจ้ง เจ้าของรถยนต์ หรือเป็นเจ้าของโดยมีทะเบียนระบุชื่อของตนชัดเจนจะมีความผิดตามกฎหมายกรมการขนส่งทางบกในมาตราที่ 60 โดยจะเสียค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท

  • เอกสารที่ควรเตรียมสำหรับดำเนินเรื่องเปลี่ยนสีรถยนต์ ให้เตรียมใบคู่มือจดทะเบียนรถที่เป็นชื่อของตนเอง สำเนาบัตรประชาชนพร้อมตัวจริง และหลักฐานการเปลี่ยนสีรถยนต์ เช่น รูปถ่ายสีเดิมของรถยนต์ ใบเสร็จจากอู่สำหรับค่าจ้างทำสีรถยนต์ (ยกเว้นสีคาดหรือแถบคาดไม่นับว่าเป็นสีจริงของรถยนต์ ในส่วนนี้ไม่ต้องแจ้งเลย ให้แจ้งในกรณีเปลี่ยนสีถาวร)
  • ขั้นตอนดำเนินการจะเสร็จเร็วกว่าสอบใบขับขี่มาก โดยจะต้องยื่นคำขอพร้อมหลักฐาน เพื่อขอนำรถยนต์ของตนเองเข้ามาตรวจสอบ ยื่นตรวจสอบเพื่อตรวจรถยนต์ว่าผ่านหรือไม่ผ่าน จากนั้นชำระค่าธรรมเนียมในการทำทะเบียน แล้วรอรับกลับบ้านได้เลย ส่วนเรื่องค่าธรรมเนียม 50 บาท ค่าดำเนินการตรวจสอบ 50 บาท และค่าคำขอ 5 บาท

                การเปลี่ยนสีรถยนต์จะต้องดูที่รุ่นรถยนต์เป็นหลักว่า ถ้าจะพ่นสีในรถยนต์รุ่นนี้ราคากี่บาท ซึ่งผู้เขียนมองว่าเป็นเรื่องส่วนตัว มันไม่มีปัญหาเลย หากแจ้งภายใน 7 วันจะช่วยประหยัดค่าปรับไปได้เร็วเลยล่ะ ซึ่งเป็นแนวทางที่ดีสำหรับใครดำเนินเรื่องเพื่อทำสีที่ตนชื่นชอบ ในขณะเดียวกันรถจักรยานยนต์ก็สามารถทำเรื่องเปลี่ยนสีรถจักรยานยนต์ได้เช่นกัน

ติดตามบทความเรื่องรถได้ที่ รวมเรื่องรถ
เวปไซด์ automotive-story.com และสามารถติดตาม บทความอื่นๆที่น่าสนใจได้ทาง facebook

เปลี่ยนสีรถเป็นอีกสีหนึ่ง…จะมีปัญหาไหม

สีรถ

การเลือกซื้อรถในปัจจุบันแน่นอนว่าเราได้รุ่นรถที่ถูกใจ แต่ก็ถูกใจไม่สุด ไม่ว่าจะเป็นสีรถที่ตนอยากได้สีนั้นแต่ไม่มีในรุ่นรถยนต์ที่ชอบเสียนี่ หรือมีความชอบที่จะทำรถแบบนี้ของตนเอง เลยไปร้านพ่นสีเป็นสีนั้นๆ เสียเลย ซึ่งความชอบของแต่ละคนอาจจะเป็นสีพื้นๆ โทนเดียว สองสี หรือสีที่หลากหลายเหมือนแฟนซี แต่ก็มีข้อถกเถียงเหมือนกันว่าจะมีปัญหาในเรื่องทะเบียนในภายหลังหรือไม่ แล้วถ้ามันเป็นเช่นนั้นจริงๆ เราจะทำยังไงถ้าหากรถยนต์ไปเปลี่ยนสีเป็นสีที่ชอบหลังจากซื้อมา จะเกิดอะไรขึ้น แล้วจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ยังไงกัน

การเปลี่ยนสีรถยนต์อยู่ที่ความชอบส่วนตัวมากกว่า แต่ต้องดูว่ามีความเหมาะสมต่อความจำเป็นหรือไม่ ซึ่งเรื่องเปลี่ยนสีไม่ได้ร้ายแรงต่อการขับขี่แต่อย่างใด แต่การเปลี่ยนสีรถจะเป็นหนึ่งในการทำให้สภาพรถยนต์เปลี่ยนไปจากเดิม ถ้าหากคุณเป็นเจ้าของรถ ซึ่งได้ดำเนินการพ่นสีรถยนต์เป็นอีกสีหนึ่งเรียบร้อย จะต้องมีหน้าที่ไปทำเรื่องที่กรมการขนส่งทางบกใกล้บ้าน เพื่อแจ้งต่อนายทะเบียน (ซึ่งสามารถไปแจ้งได้ไม่ว่าจะอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล หรือส่วนต่างจังหวัดที่ตนอยู่) โดยต้องแจ้งดำเนินการภายใน 7 วัน นับแต่วันที่เริ่มดำเนินการเปลี่ยนสีรถยนต์ของตัวเองในช่วงเวลานั้น หากไม่ดำเนินการ ล่าช้า หรือเดินเรื่องเกินกำหนดที่สมควรแจ้ง เจ้าของรถยนต์ หรือเป็นเจ้าของโดยมีทะเบียนระบุชื่อของตนชัดเจนจะมีความผิดตามกฎหมายกรมการขนส่งทางบกในมาตราที่ 60 โดยจะเสียค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท

เอกสารที่ควรเตรียมสำหรับดำเนินเรื่องเปลี่ยนสีรถยนต์ ให้เตรียมใบคู่มือจดทะเบียนรถที่เป็นชื่อของตนเอง สำเนาบัตรประชาชนพร้อมตัวจริง และหลักฐานการเปลี่ยนสีรถยนต์ เช่น รูปถ่ายสีเดิมของรถยนต์ ใบเสร็จจากอู่สำหรับค่าจ้างทำสีรถยนต์ (ยกเว้นสีคาดหรือแถบคาดไม่นับว่าเป็นสีจริงของรถยนต์ ในส่วนนี้ไม่ต้องแจ้งเลย ให้แจ้งในกรณีเปลี่ยนสีถาวร)

ขั้นตอนดำเนินการจะเสร็จเร็วกว่าสอบใบขับขี่มาก โดยจะต้องยื่นคำขอพร้อมหลักฐาน เพื่อขอนำรถยนต์ของตนเองเข้ามาตรวจสอบ ยื่นตรวจสอบเพื่อตรวจรถยนต์ว่าผ่านหรือไม่ผ่าน จากนั้นชำระค่าธรรมเนียมในการทำทะเบียน แล้วรอรับกลับบ้านได้เลย ส่วนเรื่องค่าธรรมเนียม 50 บาท ค่าดำเนินการตรวจสอบ 50 บาท และค่าคำขอ 5 บาท 

การเปลี่ยนสีรถยนต์จะต้องดูที่รุ่นรถยนต์เป็นหลักว่า ถ้าจะพ่นสีในรถยนต์รุ่นนี้ราคากี่บาท ซึ่งผู้เขียนมองว่าเป็นเรื่องส่วนตัว มันไม่มีปัญหาเลย หากแจ้งภายใน 7 วันจะช่วยประหยัดค่าปรับไปได้เร็วเลยล่ะ ซึ่งเป็นแนวทางที่ดีสำหรับใครดำเนินเรื่องเพื่อทำสีที่ตนชื่นชอบ ในขณะเดียวกันรถจักรยานยนต์ก็สามารถทำเรื่องเปลี่ยนสีรถจักรยานยนต์ได้เช่นกัน

#รถยนต์ #ทำสี #สีรถ #รวมเรื่องรถ #automotive-story.com

ทำทะเบียนรถยนต์ของตนเอง…จะเรียกสีรถยนต์ยังไงนะ

สีรถยนต์

การดำเนินการเรื่องทะเบียน ถ้าเป็นกลุ่มรถยนต์ป้ายแดงจะระบุเรื่องสีออกมาชัดเจนว่าเป็นสีอะไรบ้างตั้งแต่ผลิตมาจากโรงงานให้เลือกเลย หรือวันหนึ่งอยากเปลี่ยนสีขึ้นมาก็สามารถเปลี่ยนสีแล้วทำเรื่องที่กรมการขนส่งทางบกตามกฎหมายที่กำหนดไว้ได้เลย หากใครเคยมีทะเบียนคู่มือรถไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือรถชนิดอื่นๆ ที่ต้องระบุสีรถในทะเบียนคู่มือรถ เรามาสังเกตกันเถอะว่ามีสีแบบไหนบ้างที่กรมการขนส่งทางบกได้กำหนดไว้ ว่าแบบไหนที่เขาเรียกกันในทางภาษาทะเบียนบ้าง ซึ่งจะขออธิบายไว้ดังนี้

 ลักษณะคำเรียกของสีที่ระบุในทะเบียนคู่มือรถ ทั้งในรถจักรยานยนต์ รถยนต์ส่วนบุคคล หรือรถแบบอื่นๆ ว่าจะเรียกสีอะไรบ้าง ซึ่งจะเรียกกันใน 3 แบบ เพื่อป้องกันการสับสน และต้องการกำหนดให้มันชัดเจนไปเลย ซึ่งการเรียกสีรถในทะเบียนคู่มือรถเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมา เรียกได้ดังนี้

รถสีเดียว ส่วนมากจะเป็นรถยนต์ที่สีพื้น ไม่ว่าจะเป็นสีโทนไหนก็ตาม ถ้าไม่มีสีอื่นผสมด้วย เช่น ถ้าหากเป็น Pearl White (สีขาวมุก) จะระบุเป็นสีขาวมุกไปเลย เพราะไม่มีสีอื่นผสมมาเลย หรือถ้าไปพ่นสีรถยนต์ให้เป็นอีกสีหนึ่งก็ให้ระบุสีใหม่ที่เปลี่ยนด้วย เช่น เปลี่ยนจากสีเทาลูนาร์ เป็นสีน้ำเงินคอสมิค ก็ให้ระบุเป็นสีน้ำเงินคอสมิคตามสีใหม่ที่เปลี่ยนทันที

รถที่มีมากกว่าหนึ่งสี อาจจะเป็นสีขาวกับดำตัดกันแบบทูโทนจะเรียกว่า “สองสี” หรือสามสีเหมือนเลเยอร์ หรือสามสีแบบบัวลอย ก็ให้ระบุว่าเป็นรถ “สามสี” เพราะทางทะเบียนของขนส่งจะสับสนกลุ่มเจ้าของที่มีสีรถแบบนี้อยู่ด้วย เลยเรียกไปตามจำนวนสีรถที่ทำแทนเพื่อไม่ให้งง

รถหลากสี รถยนต์บางคันอาจจะเป็นเลื่อมสลับสีบ้าง ทำเป็นลวดลาย ตัวการ์ตูนที่ทำแบบสีถาวรติดกับรถบ้าง แต่จะต้องแยกว่าการทำสีของรถหลากสีมีสีหลักหรือไม่ ถ้าระบุสีหลักได้ก็จะเรียกสีหลัก แล้วตามด้วยคำว่า “หลากสี” เช่น สีขาว หลากสี แต่ถ้าหาสีหลักไม่ได้ก็ระบุว่า “หลากสี” ได้ทันที

การทำสีรถยนต์ยังมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่ควรศึกษาไว้เสมอ เพื่อไม่ให้งุนงงกับกฎใหม่ที่ออกมาเพื่อสภาพรถของคุณ ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะทำสีรถได้ แต่ตัวเองต้องไม่งงเรื่องสีที่ทำ กับต้องดำเนินการทำเรื่องเปลี่ยนสีรถภายใน 7 วัน เพื่อไม่ให้ส่อไปในทางผิดกฎหมาย และระบุตัวเจ้าของรถจากลักษณะของสี เพื่อง่ายต่อการระบุเจ้าของ และในขณะเดียวกันยังใช้ได้ในยานพาหนะแทบทุกประเภทที่กล่าวมาข้างต้นอีกด้วย

#รถยนต์ #ทำสี #สีรถ #ทะเบียน #รวมเรื่องรถน่ารู้ #automotive-story.com